หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนย์ข้อมูล
Data Center
 
  เทศบาลตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร : www.dongyenmd.go.th
 
 



ประวัติความเป็นมา

 

ประวัติเทศบาลตำบลดงเย็น

         ตำบลดงเย็น ได้แยกตัวออกจากตำบลมุกดาหารเมื่อ ปี พ.ศ.2504  และอยู่ในการปกครองของอำเภอเมืองมุกดาหาร  ซึ่งในขณะนั้นตำบลดงเย็นมีฐานะเป็นสภาตำบล  และเมื่อปี พ.ศ. 2540  ก็ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ.2546  กฎหมายให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ยกฐานะเป็นเทศบาลได้ถ้ามีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้  ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจและร่วมมือร่วมใจกันของพี่น้องชาวตำบลดงเย็น ที่จะพัฒนาให้เกิดความเจริญ 

        จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 กระทรวงมหาดไทยก็ได้มีประกาศยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็นเป็นเทศบาลตำบลดงเย็น มีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน โดยแบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 2 เขตเลือกตั้ง  มีสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คน   

        เขตเลือกตั้งที่ 1 ได้แก่ บ้านหนองแคน หมู่ที่ 2,  บ้านป่งโพน หมู่ที่ 3,  บ้านโคกขามเลียน หมู่ที่ 7,  บ้านนาจาน หมู่ที่ 8,  บ้านคำบง หมู่ที่ 9,  บ้านโดนสวรรค์ หมู่ที่ 11,  บ้านนาทอง หมู่ที่ 12

        เขตเลือกตั้งที่ 2  ได้แก่  บ้านดงเย็น หมู่ที่ 1,  บ้านสามขัว หมู่ที่ 4,  บ้านโคกตะแบง หมู่ที่ 5,  บ้าน โพนสวาง หมู่ที่ 6,  บ้านดอนสวรรค์ หมู่ที่ 10,  บ้านภูทอง หมู่ที่ 13,  บ้านโพนสวาง หมู่ที่ 14

อาณาเขตตำบล

        ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.คำอาฮวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร

        ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.เหล่าหมี, ป่าไร่ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร

        ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.เหล่าหมี, บ้านแก้ง อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร

        ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.หนองแวง, นาอุดม อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร              

จำนวนประชากรของตำบล         

        จำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,438 คน เป็นชาย 4,825 คน เป็นหญิง 4,613 คน

ข้อมูลอาชีพของตำบล          

        อาชีพหลักปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงโค, กระเบือ, ทำนา,  ทำสวนยางพารา, ทำไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง ฯลฯ

คำขวัญตำบลดงเย็น


ประวัติความเป็นมาชาวไทยย้อ

              ไทยย้อ เป็นชาวไทยในภาคอีสานอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมักเรียกตัวเองว่า ไทยย้อ เช่น ชาวย้อในจังหวัดสกลนครชาวย้อในตำบล   ท่าขอนยาง (เมืองท่าขอนยาง)อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม,ชาวย้อในอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และชาวย้อในตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร  ภาษาและสำเนียงของชาวย้ออาจผิดเพี้ยนไปจากชาวอีสานทั่วไปบ้างเล็กน้อย ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวย้อมีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่แคว้นสิบสองปันนาหรือ ยูนาน ต่อมาชาวย้อบางพวกได้อบพยพลงมาตามลำน้ำโขงเพื่อเลือกหาที่ตั้งบ้านตั้งเมืองที่อุดมสมบรูณ์กว่าที่อยู่เดิมจนในที่สุดชาวย้อกลุ่มหนึ่งได้พบว่าตรงปากน้ำสงครามริมฝั่งโขงเป็นที่อุดมสมบรูณ์ มีปลาชุกชุม จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นเมืองไชยบุรีเมื่อ พ.ศ.2350 (สมัยราชกาลที่ 1) ต่อมาเมื่อเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2369ไทยย้อเมืองไชยบุรี ถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์กวาดต้อนให้อพยพข้ามโขงไปด้วยโดยให้ไปตั้งอยู่ที่เมืองหลวงปุงเลง เมืองคำเกิด เมืองคำม่วน ในแขวงคำม่วน ของลาว ต่อมากองทัพไทยได้กวาดต้อนให้ไทยย้อ ให้อพยพข้ามโขง กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไทยย้อกลุ่มหนึ่งตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทน เมื่อ พ.ศ.2373 ให้ไทยย้อที่อพยพข้ามโขงมาตั้งที่บ้านท่าขอนยาง เป็นเมืองท่าขอนยางขึ้นเมืองกาฬสินธุ์(ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม)ให้ท้าวคำก้อนจากเมืองคำเกิดเป็นพระสุวรรณภักดีเจ้าเมืองท่าขอนยาง จึงมีไทยย้อ ที่ตำบลท่าขอนยาง บ้านกุดน้ำใส บ้านยางบ้านลิ้นฟ้า บ้านโพนและยังมีไทยย้อที่บ้านนายุงจังหวัดอุดรธานี บ้านกุดนางแดง บ้านหนามแท่งอำเภอพรรณานิคม บ้านจำปาบ้านดอกนอ บ้านปุ่งเป้า บ้านนาสีนวนอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครบ้านโพนสิม บ้านหนองแวง บ้านสาอำเภอยางตลาด บ้านหนองไม้ตาย อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ไทยย้อเมืองสกลนครอพยพมาจากเมืองมหาชัย (แขวงคำม่วนของลาว)มาตั้งอยู่ริมน้ำหนองหานสมัยรัชกาลที่ 3ตั้งขึ้นเป็นเมืองสกลนครเมื่อ พ.ศ.2381(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1200 เลขที่ 10 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)ในจังหวัดมุกดาหารมีไทยย้อที่อพยพมาจากเมืองคำม่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหารและอยู่ในท้องที่อำเภอนิคมคำสร้อยอีกหลายหมู่บ้าน

 
 

 

- จำนวนผู้เข้าชม จำนวน 3642265 คน ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2563